วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

ดอกไม้ประจำจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย

มาดูกัน..ดอกไม้ประจำจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย



ดอกไม้ประจำจังหวัด

            สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องพรรณไม้ต่าง ๆ ของไทย น่าจะทราบกันดีว่า ราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย แต่นอกจากดอกไม้ประชาติแล้ว รู้กันไหมเอ่ยว่าแต่ละจังหวัดประเทศไทย ก็มีดอกไม้ประจำจังหวัดด้วยเช่นกัน ว่าแต่จังหวัดไหน มีดอกอะไรเป็นสัญลักษณ์บ้างนั้น ตามมาดูกันเลย

ข้อมูลดอกไม้ประจำจังหวัด โดยเรียงตามภูมิภาค

1. ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด ดังนี้

ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - เชียงราย ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกพวงแสด
            - น่าน ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกเสี้ยวดอกขาว
            - พะเยา ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสารภี
            - เชียงใหม่ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกทองกวาว
            - แม่ฮ่องสอน ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบัวตอง
            - แพร่ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกยมหิน
            - ลำปาง ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกธรรมรักษา
            - ลำพูน ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกทองกวาว
            - อุตรดิตถ์ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกประดู่
2. ภาคกลาง ประกอบด้วย 22 จังหวัด ดังนี้


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - กรุงเทพมหานคร ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
            - พิษณุโลก ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกนนทรี
            - สุโขทัย ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบัวหลวง
            - เพชรบูรณ์ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกมะขาม
            - กำแพงเพชร ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกพิกุล
            - นครสวรรค์ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกเสลา
            - นนทบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกนนทรี
            - ลพบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกพิกุล
            - สิงห์บุรี ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
            - อ่างทอง ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
            - สระบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสุพรรณิการ์
            - อุทัยธานี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสุพรรณิการ์


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - ชัยนาท ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกชัยพฤกษ์
            - พระนครศรีอยุธยา ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกโสน
            - พิจิตร ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบัวหลวง
            - สุพรรณบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสุพรรณิการ์
            - นครนายก ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสุพรรณิการ์
            - ปทุมธานี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบัวหลวง
            - สมุทรปราการ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกดาวเรือง
            - นครปฐม ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
            - สมุทรสาคร ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
            - สมุทรสงคราม ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกจิกทะเล

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 20 จังหวัด ดังนี้


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - หนองคาย ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกชิงชัน
            - บึงกาฬ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสิรินธรวัลลี หรือชื่อพื้นเมือง สามสิบสองประดง
            - สกลนคร ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกอินทนิลน้ำ
            - หนองบัวลำภู ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบัวหลวง
            - เลย ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
            - มุกดาหาร ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกช้างน้าว
            - อุดรธานี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกทองกวาว


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - กาฬสินธุ์ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกพยอม
            - ขอนแก่น ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกราชพฤกษ์
            - อำนาจเจริญ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกทองกวาว
            - อุบลราชธานี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบัวหลวง
            - ยโสธร ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบัวแดง
            - ร้อยเอ็ด ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกอินทนิล


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - มหาสารคาม ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกลั่นทมขาว
            - ชัยภูมิ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกระเจียว
            - นครราชสีมา ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสาธร
            - บุรีรัมย์ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสุพรรณิการ์
            - นครพนม ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกกันเกรา
            - สุรินทร์ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกันเกรา
            - ศรีสะเกษ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกลำดวน
         


4. ภาคตะวันออก มี 7 จังหวัด ดังนี้


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - สระแก้ว ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกแก้ว
            - ปราจีนบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกปีป
            - ฉะเชิงเทรา ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกนนทรีป่า
            - ชลบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกประดู่
            - ระยอง ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกประดู่
            - จันทบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกเหลืองจันทบูร
            - ตราด ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกฤษณา


5. ภาคตะวันตก มี 5 จังหวัด ดังนี้


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - ตาก ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกเสี้ยวดอกขาว
            - กาญจนบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกาญจนิกา
            - ราชบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกัลปพฤกษ์
            - เพชรบุรี ดอกไม้ประจำจังหวัด ไม่มีดอกไม้ประจำจังหวัด
            - ประจวบคีรีขันธ์ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกเกด


6. ภาคใต้ มี 14 จังหวัด ดังนี้


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - ชุมพร ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกพุทธรักษา
            - ระนอง ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกเอื้องเงินหลวง หรือโกมาชุม
            - สุราษฎร์ธานี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบัวผุด
            - นครศรีธรรมราช ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกราชพฤกษ์
            - กระบี่ ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกทุ้งฟ้า
            - พังงา ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกจำปูน
            - ภูเก็ต ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกเฟื่องฟ้า
            - พัทลุง ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกพะยอม


ดอกไม้ประจำจังหวัด

            - ตรัง ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกศรีตรัง
            - ปัตตานี ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกชบา
            - สงขลา ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกสะเดาเทียม
            - สตูล ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกาหลง
            - นราธิวาส ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกบานบุรี
            - ยะลา ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกพิกุล


            และทั้งหมดนี้ก็คือเกร็ดความรู้เรื่อง ดอกไม้ประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้รู้แบบนี้แล้ว ถ้าใครถามมารับรองว่าตอบถูกชัวร์ ๆ เลย ส่วนใครที่ชอบดอกไม้จะลองหาดอกไม้ประจำจังหวัดของตัวเองมาปลูกดู หรือชอบดอกไม้ของจังหวัดไหนก็เลือกปลูกกันดูนะจ๊ะ สวย ๆ ทั้งนั้นเลย
 ***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 15.08 น. วันที่ 8 มกราคม 2561

ภาพประกอบจาก panmai.comkrissana.netchachoengsao.go.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
udomsuksa.ac.thguideubon.com

ที่มา Kapook.com

วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

22 มกราคม 2486 ประกาศใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายประจำชาติ

วันนี้ในอดีต 22 มกราคม 2486 ประกาศใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายประจำชาติ




สวัสดี วันนี้ในอดีต
          เหตุการณ์สำคัญเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2486 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ หลังจากมีการคิดค้นคำนี้เมื่อปี 2476 ในรายการวิทยุกระจายเสียง 
 
          การกล่าวคำทักทายของแต่ละประเทศล้วนมีความแตกต่างกัน และถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่บ่งบอกความเป็นมาของประเทศนั้น ๆ ซึ่งประเทศไทยก็มีคำทักทายเช่นกัน นั่นก็คือคำว่า "สวัสดี" เรียกได้ว่าเป็นคำพูดติดปากไม่ว่าจะเป็นการพบกัน หรือลาจากกัน ต่างก็ต้องเอ่ยคำว่า "สวัสดี" และรู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยนั้นมีการใช้คำนี้อย่างเป็นทางการนานกว่า 70 ปีแล้ว
          โดยเริ่มแรกนั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เล่าต้นสายปลายเหตุว่า เมื่อก่อนเจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงจะใช้คำว่า "ราตรีสวัสดิ์" เป็นการพูดเมื่อจบรายการ บางครั้งก็มีการอนุโลมให้พูดคำว่า "กู๊ดไนท์" (Goodnight) ของอังกฤษ แต่มีคนไม่เห็นด้วย จึงให้กรรมการชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ในสมัยนั้นช่วยคิดหาคำใหม่ขึ้นมาแทน จนในที่สุดก็ได้คำว่า "สวัสดี"

          ทั้งนี้ คำว่า "สวัสดี"  มาจาก "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสดิ" (สะ-หวัด-ดิ) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้ง 2 คำนี้มีความหมายว่า ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง ความปลอดภัย ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายดีมาก

          ต่อมาเมื่อปี 2476 พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้นำคำว่า "สวัสดี" ไปเผยแพร่กับนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบกัน ก่อนจะมีการใช้แพร่หลายกันต่อมา

          จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นยุคของการบำรุงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชาติให้เทียบเท่าอารยประเทศ ได้เห็นชอบกับการใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายเมื่อพบกันครั้งแรก จึงมอบหมายให้ กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์) ออกข่าวและประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2486 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีการใช้คำว่า "สวัสดี" มาเป็นคำทักทายกัน พร้อมกับมีการยกมือขึ้นไหว้ประกอบคำพูด ทำให้การทักทายของคนไทยนั้นดูอ่อนช้อยจนกลายเป็นที่ชื่นชมของชาวต่างชาตินั่นเอง   

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
culture.ssru.ac.th5.nsru.ac.th

ที่มา Kapook.com