ประวัติประเพณีวันสงกรานต์แต่ละภาค
ประเพณีสงกรานต์สมัยก่อนมีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับ ประวัติประเพณีวันสงกรานต์แต่ละภาคมาฝาก
ช่วงวันที่ 13-15 เมษายน เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทย และชาวต่างชาติ ต่างหลั่งไหลเข้าไปในตัวเมืองของแต่ละจังหวัด เพื่อร่วมสนุกในเทศกาลปีใหม่ไทย หรือ วันสงกรานต์ แต่นอกจากกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานแล้ว ชาวไทยส่วนใหญ่ยังคงยึดถือและปฏิบัติตามประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมา ทว่าในแต่ละภาคจะมีความเชื่อ และรูปแบบของประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็ ได้รวมประเพณีช่วงวันสงกรานต์ของแต่ละภาคมาฝากค่ะ
ภาพจาก ChaiyonS021/shutterstock.com
เริ่มต้นด้วยกิจกรรมวันสงกรานต์ล้านนาในภาคเหนือ ที่เรียกว่า "ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" กันเลยจ้า ในวันที่ 13 เมษายน "วันสังขานต์ล่อง" วันนี้ถือเป็นวันสิ้นสุดศักราชเก่าของชาวภาคเหนือ ซึ่งจะมีการจุดประทัดในช่วงเช้า เพราะมีความเชื่อแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่สิ่งเลวร้ายในปีก่อนให้พ้นไป และในช่วงเย็นจะมีงานบุญขนาดใหญ่ นั่นคือการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วย ในช่วงนี้จะมีทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ มารวมตัวกันอย่างหนาแน่น แต่ก็ได้ทั้งบุญและความสนุกสนานกันเลยทีเดียว
จากนั้นในวันที่ 14 เมษายน ที่เรียกกันว่า "วันเนา" หรือ "วันเน่า" จะเป็นวันที่ห้ามด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่น ไม่เช่นนั้นจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี ส่วนในวันที่ 15 เมษายน "วันพญาวัน" หรือ "วันเถลิงศก" เป็นวันที่ชาวบ้านตื่นตั้งแต่ไก่โห่เพื่อไปทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม จากนั้นจะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย พอถึงวันที่วันที่ 16 เมษายน "วันปากปี" ทุกคนก็จะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่าง ๆ และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอขมา โดยในวันที่ 17 เมษายน "วันปากเดือน" ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำการปัดตัว เพื่อส่งเคราะห์ต่าง ๆ ออกไป เพื่อเป็นการปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา
ภาพจาก yaipearn/shutterstock.com
ประเพณีสงกรานต์ภาคอีสาน
ต่อมา เรามาดูภาคอีสาน ที่เรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ "ตรุษสงกรานต์" กันบ้างดีกว่า ประเพณีพื้นบ้านของภาคอีสานจะค่อนข้างเรียบง่าย ส่วนใหญ่เน้นการอยู่กับครอบครัว แต่จะมีกิจกรรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่นกัน โดยชาวอีสานจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงาน จะมีพระสงฆ์ตีกลองโฮมเพื่อเป็นการเปิดศักราชเข้าสู่ปีใหม่ จากนั้นญาติโยมทั้งหลายจะไปรวมตัวกันที่ศาลาวัดต่าง ๆ เพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมา จากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำและก่อกองทรายภายในวัด หากใครต้องการทำบุญปล่อยนก ปล่อยปลา หรือปล่อยสัตว์อื่น ๆ ก็ทำได้เช่นกันค่ะ
ต่อมา เรามาดูภาคอีสาน ที่เรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ "ตรุษสงกรานต์" กันบ้างดีกว่า ประเพณีพื้นบ้านของภาคอีสานจะค่อนข้างเรียบง่าย ส่วนใหญ่เน้นการอยู่กับครอบครัว แต่จะมีกิจกรรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่นกัน โดยชาวอีสานจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงาน จะมีพระสงฆ์ตีกลองโฮมเพื่อเป็นการเปิดศักราชเข้าสู่ปีใหม่ จากนั้นญาติโยมทั้งหลายจะไปรวมตัวกันที่ศาลาวัดต่าง ๆ เพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมา จากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำและก่อกองทรายภายในวัด หากใครต้องการทำบุญปล่อยนก ปล่อยปลา หรือปล่อยสัตว์อื่น ๆ ก็ทำได้เช่นกันค่ะ
ประเพณีสงกรานต์ภาคใต้
ส่วนประเพณีสงกรานต์ในภาคใต้ ความเป็นมาจะค่อนข้างยาวสักเล็กน้อย เพราะทางภาคใต้จะมีความเชื่อที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ ความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันแรกของเทศกาลสงกรานต์เป็น "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะมีการทำพิธีลอยเคราะห์ลงในแม่น้ำ และอธิษฐานขอให้ประสบโชคดีตลอดปีใหม่
จากนั้นในวันที่ 14 เมษายน หรือ "วันว่าง" ที่มีความเชื่อว่า ในวันนี้ยังไม่มีเทวดาคนใหม่มาคุ้มครองดูแลเมือง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ชาวนครจะหยุดกิจการต่าง ๆ แล้วหันหน้าไปทำบุญตักบาตรที่วัด สรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำผู้อาวุโสแทน ต่อมา ในวันที่ 15 เมษายน ที่เรียกว่า "วันรับเจ้าเมืองใหม่" ในวันนี้ บนสวรรค์จะมีเทวดาที่เป็นเจ้าเมืองใหม่ลงประจำการ ดังนั้นชาวเมืองจึงต้องต้อนรับเทวดาเจ้าเมืองคนใหม่ด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ เพื่อนำอาหารไปถวายพระที่วัด จากนั้นอาจจะไปรดน้ำผู้อาวุโสท่านที่ยังไม่ได้ไปรดน้ำใน "วันว่าง" เพื่อเป็นการปิดท้ายประเพณีสงกรานต์ของชาวภาคใต้
ส่วนประเพณีสงกรานต์ในภาคใต้ ความเป็นมาจะค่อนข้างยาวสักเล็กน้อย เพราะทางภาคใต้จะมีความเชื่อที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ ความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันแรกของเทศกาลสงกรานต์เป็น "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะมีการทำพิธีลอยเคราะห์ลงในแม่น้ำ และอธิษฐานขอให้ประสบโชคดีตลอดปีใหม่
จากนั้นในวันที่ 14 เมษายน หรือ "วันว่าง" ที่มีความเชื่อว่า ในวันนี้ยังไม่มีเทวดาคนใหม่มาคุ้มครองดูแลเมือง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ชาวนครจะหยุดกิจการต่าง ๆ แล้วหันหน้าไปทำบุญตักบาตรที่วัด สรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำผู้อาวุโสแทน ต่อมา ในวันที่ 15 เมษายน ที่เรียกว่า "วันรับเจ้าเมืองใหม่" ในวันนี้ บนสวรรค์จะมีเทวดาที่เป็นเจ้าเมืองใหม่ลงประจำการ ดังนั้นชาวเมืองจึงต้องต้อนรับเทวดาเจ้าเมืองคนใหม่ด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ เพื่อนำอาหารไปถวายพระที่วัด จากนั้นอาจจะไปรดน้ำผู้อาวุโสท่านที่ยังไม่ได้ไปรดน้ำใน "วันว่าง" เพื่อเป็นการปิดท้ายประเพณีสงกรานต์ของชาวภาคใต้
ประเพณีสงกรานต์ภาคกลาง
และสุดท้ายคือก็มาถึงประเพณีวันสงกรานต์ในภาคกลางกันบ้าง วันสงกรานต์ หรือ วันปีใหม่ไทย ของภาคกลาง จะเริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เรามักเรียกวันนี้ว่า "วันมหาสงกรานต์" ส่วนวันที่ 14 เรียกเป็น "วันกลาง" หรือ "วันเนา" และในวันที่ 15 ถือเป็นวัน "วันเถลิงศก" โดยทั้ง 3 วันนี้ ชาวภาคกลางส่วนใหญ่จะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ มีการสรงน้ำพระ มีการก่อพระเจดีย์ทรายภายในวัด มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และในบางจังหวัดจะมีพิธีแห่นางแมวด้วย
นอกจากนี้ยังมีการทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ เพื่อให้สิ่งสกปรกหมดไปพร้อมกับปีเก่า เพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ไทย ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่นเอง
และสุดท้ายคือก็มาถึงประเพณีวันสงกรานต์ในภาคกลางกันบ้าง วันสงกรานต์ หรือ วันปีใหม่ไทย ของภาคกลาง จะเริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เรามักเรียกวันนี้ว่า "วันมหาสงกรานต์" ส่วนวันที่ 14 เรียกเป็น "วันกลาง" หรือ "วันเนา" และในวันที่ 15 ถือเป็นวัน "วันเถลิงศก" โดยทั้ง 3 วันนี้ ชาวภาคกลางส่วนใหญ่จะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ มีการสรงน้ำพระ มีการก่อพระเจดีย์ทรายภายในวัด มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และในบางจังหวัดจะมีพิธีแห่นางแมวด้วย
นอกจากนี้ยังมีการทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ เพื่อให้สิ่งสกปรกหมดไปพร้อมกับปีเก่า เพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ไทย ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่นเอง
ภาพจาก Sukpaiboonwat/shutterstock.com
สงกรานต์ตามประเพณีที่แตกต่าง
- สงกรานต์ผูกสายสิญจน์เชื่อมโยงพระธาตุสองแผ่นดิน หรือสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์ บุญปีใหม่ไทย-ลาว ณ อ.เมือง และ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ในงานจะมีการฮดสรง หรือสรงน้ำพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
- สงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ หรือประเพณีสงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ ณ เกาะสีชัง และเกาะขามใหญ่ จ.ชลบุรี ภายในงานมีกิจกรรมเช่น พิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ พิธีกองข้าวบวงสรวง รดน้ำดำหัว การก่อพระเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน แข่งขันเรือกระทะ เรือชักกะเย่อ มวยตับจาก ปาลูกดอก แข่งขันตะกร้อลอดบ่วง การแสดงดนตรี และประเพณีอุ้มสาวลงน้ำ
- สงกรานต์นางดาน หรือเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ณ สวนศรีธรรมาโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร สำหรับกิจกรรมภายในเทศกาลสงกรานต์เมืองนครนี้ จะมีมหกรรมขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง กิจกรรมนั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์ นั่งสามล้อโบราณชมเมืองเก่า พิธีพุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 6 แหล่ง จตุคามรุ่นสรงน้ำ 50 เป็นต้น
- สงกรานต์ผูกสายสิญจน์เชื่อมโยงพระธาตุสองแผ่นดิน หรือสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์ บุญปีใหม่ไทย-ลาว ณ อ.เมือง และ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ในงานจะมีการฮดสรง หรือสรงน้ำพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
- สงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ หรือประเพณีสงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ ณ เกาะสีชัง และเกาะขามใหญ่ จ.ชลบุรี ภายในงานมีกิจกรรมเช่น พิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ พิธีกองข้าวบวงสรวง รดน้ำดำหัว การก่อพระเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน แข่งขันเรือกระทะ เรือชักกะเย่อ มวยตับจาก ปาลูกดอก แข่งขันตะกร้อลอดบ่วง การแสดงดนตรี และประเพณีอุ้มสาวลงน้ำ
- สงกรานต์นางดาน หรือเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ณ สวนศรีธรรมาโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร สำหรับกิจกรรมภายในเทศกาลสงกรานต์เมืองนครนี้ จะมีมหกรรมขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง กิจกรรมนั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์ นั่งสามล้อโบราณชมเมืองเก่า พิธีพุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 6 แหล่ง จตุคามรุ่นสรงน้ำ 50 เป็นต้น
ที่มา: Kapook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น